วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2552

การบ้าน

1.การเรียนรู้เทคโนโลยีสารสนเทศ มีความสำคัญอย่างไร
ตอบ ทำให้เราได้รับรู้อะไรหลายๆอย่างที่รวดเร็วและทันสมัย
2.ในชีวิตประจำวันของนักศึกษาได้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาประยุกต์ใช้อย่างไรและเกิดผลดีผลเสียอย่างไรบ้าง
ตอบ นำไปใช้ในชีวิตประจำวันคือการทำรายงานการเข้าอินเตอร์เน็ตเพื่อค้นหาข้อมูลหาความรู้เพิ่มเต็ม
ผลดีคือสะดวกรวดเร็ว
ผลเสียคือถ้าทำไปใช้ในทางที่ผิดก็จะทำให้ไม่ดีต่อตัวเอง
3.นักศึกษาคิดว่าซอฟท์แวร์มีความเกี่ยวข้องกับกับเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างไร
ตอบ เป็นการทำงานร่วมกันเพื่อมาประยุกต์ใช้ในด้านต่างๆเพื่อให้เกิดความสะดวกสบายรวดเร็วและทันสมัย

วันอาทิตย์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2552

เทคโนโลยีสารสนเทศเบื้องต้น



ประวัติส่วนตัว

ชื่อ-สกุล ชุลีพร ยุพาพิน

ชื่อเล่น กวาง

วันเดือน / ปี /เ กิด 4 / มกราคม / 2534

ราศีเกิด ธนู

สถานที่ศึกษา พัฒนบริหารธุรกิจ ( PBAC )

อาหารที่ชอบ ผัดปู

ขนมหวานที่ชอบ ฝอยทอง

ผลไม้ที่ชอบ ส้มโอ

สีที่ชอบ สีเขียว / สีส้ม ( คลาสสิก )





ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้มีการพัฒนาคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่อการดำชีวิตเป็นอันมาก เทคโนโลยีได้เข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี เทคโนโลยีทำให้การสร้างที่พักอาศัยมีคุณภาพมาตรฐาน สามารถผลิตสินค้าและให้บริการต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์มากขึ้น เทคโนโลยีทำให้ระบบการผลิตสามารถผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมากมีราคาถูกลง สินค้าได้คุณภาพ เทคโนโลยีทำให้มีการติดต่อสื่อสารกันได้สะดวก การเดินทางเชื่อมโยงถึงกันทำให้ประชากรในโลกติดต่อรับฟังข่าวสารกันได้ตลอดเวลา
พัฒนาการของเทคโนโลยีทำให้ชีวิตความเป็นอยู่เปลี่ยนไปมาก ลองย้อนไปในอดีตโลกมีกำเนินมาประมาณ 4600 ล้านปี เชื่อกันว่าพัฒนาการตามธรรมชาติทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตถือกำเนินบนโลกประมาณ 500 ล้านปีที่แล้ว ยุคไดโนเสาร์มีอายุอยู่ในช่วง 200 ล้านปี สิ่งมีชีวิตที่เป็นเผ่าพันธุ์มนุษย์ ค่อย ๆ พัฒนามา คาดคะเนว่าเมื่อห้าแสนปีที่แล้วมนุษย์สามารถส่งสัญญาณท่าทางสื่อสารระหว่างกันและพัฒนามาเป็นภาษา มนุษย์สามารถสร้างตัวหนังสือ และจารึกไว้ตามผนึกถ้ำ เมื่อประมาณ 5000 ปีที่แล้ว กล่าวได้ว่ามนุษย์ต้องใช้เวลานานพอสมควรในการพัฒนาตัวหนังสือที่ใช้แทนภาษาพูด และจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า มนุษย์สามารถจัดพิมพ์หนังสือได้เมื่อประมาณ 5000 ปีที่แล้ว กล่าวได้ว่าฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า มนุษย์สามารถจัดพิมพ์หนังสือได้เมื่อประมาณ 500 ถึง 800 ปีที่แล้ว เทคโนโลยีเริ่มเข้ามาช่วยในการพิมพ์ ทำให้การสื่อสารด้วยข้อความและภาษาเพิ่มขึ้นมาก เทคโนโลยีพัฒนามาจนถึงการสื่อสารกัน โดยส่งข้อความเป็นเสียงทางสายโทรศัพท์ได้ประมาณร้อยกว่าปีที่แล้ว และเมื่อประมาณห้าสิบปีที่แล้ว ก็มีการส่งภาพโทรทัศน์และคอมพิวเตอร์ทำให้มีการใช้สารสนเทศในรูปแบบข่าวสารมากขึ้น ในปัจจุบันมีสถานที่วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ แ ละสื่อต่าง ๆ ที่ใช้ในการกระจ่ายข่าวสาร มีการแพร่ภาพทางโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเพื่อรายงานเหตุการณ์สด เห็นได้ชัดว่าเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทอย่างมาก บทบาทของการพัฒนาเทคโนโลยีรวดเร็วขึ้นเมื่อมีการพัฒนาอุปกรณ์ทางด้านคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ จะเห็นได้ว่าในช่วงสี่ห้าปีที่ผ่านมาจะมีผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งมีคอมพิวเตอร์เข้าไปเกี่ยวข้องให้เห็นอยู่ตลอดเวลา


บทบามเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่

อี-ลอจิสติกส์ พลังขับเคลื่อนสำคัญของการค้ายุคใหม่โลกของลอจิสติกส์ หรือระบบการขนส่งระดับสูงนั้น เต็มไปด้วยคำย่อที่พร้อมจะสร้างความสับสนให้แก่เราได้อย่างมากมาย คุณอาจจะเคยได้ยินการพูดถึง ASP, WMS หรือ TMS ซึ่งคำต่างๆ เหล่านี้ล้วนแต่ต้องการสื่อถึงเทคโนโลยีที่กำลังมีการปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่เพื่อให้คุณสมบัติ และขีดความสามารถที่อาจจะเป็นเรื่องยากที่คนธรรมดาทั่วไปจะติดตามได้ทันแน่นอนว่ามาถึงยุคนี้ อิทธิพลของระบบลอจิสติกส์สมัยใหม่ และเทคโนโลยีซัพพลายเชนเป็นเรื่องที่ปรากฏเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน และได้รับการยอมรับจากทุกวงการ ระบบลอจิสติกส์ที่มประสิทธิภาพสามารถทำให้บริษัทขนาดเล็ก ทำงานช้าได้เสมือนหนึ่งเป็นบริษัทขนาดใหญ่ และสำหรับบริษัทขนาดใหญ่แล้ว การมีระบบลอจิสติกส์ที่ดี จะส่งผลให้บริษัทนำหน้าคู่แข่งได้ในระดับที่น่าพอใจ ผู้เชี่ยวชาญหลายคนต่างก็กล่าวว่า ถ้าขาดทูลเหล่านี้ ธุรกิจจำนวนมากจะพบว่าการจับคู่ระดับของบริการที่ลูกค้าต้องการกับธุรกิจในสภาพเศรษฐกิจปัจจุบันให้สอดคล้องตรงกันเป็นเรื่องยากอย่างยิ่งเว็บ เปิดช่องทางการขนส่ง ไม่มีเทคโนโลยีสมัยใหม่ใดที่อินเทอร์เน็ตไม่ได้ก้าวเข้าไปเกี่ยวข้อง ระบบลอจิสติกส์เองก็เช่นกัน โดยเทคโนโลยีเว็บได้ให้สิ่งสำคัญ 2 สิ่งแก่อุตสาหกรรมการขนส่ง สิ่งแรกก็คือ แพลตฟอร์มมาตรฐานที่มีความเข้ากันได้สูง ซึ่งได้มาจากเว็บบราวเซอร์และโค้ด HTML ที่สร้างขึ้น ส่วนอย่างที่สองก็คือ ขีดความสามารถในการติดต่อสื่อสารที่มีแนวโน้มความปลอดภัยสูงและไม่แพง ด้วยเหตุนี้ เว็บจึงทำให้ข้อมูลลอจิสติกส์เคลื่อนที่ได้เร็วขึ้นและง่ายกว่าที่เคยเป็นมา ระบบที่ทำงานผ่านเว็บได้ ต่างยอมให้บริษัทต่างๆ ตอบสนองต่อคำสั่งซื้อของลูกค้า และติดต่อกับลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องแม่นยำกว่า แต่สำหรับบริษัทหลายแห่งแล้ว ขีดความสามารถใหม่ๆ ที่ได้รับจากเว็บกลับกลายเป็นภาระที่ยุ่งยากสำหรับพวกเขามากกว่าที่จะเป็นโอกาส ซึ่งประเด็นในเรื่องนี้สร้างความท้าทายบางอย่างที่ยังต้องรอการพิสูจน์สำหรับธุรกิจจำนวนมากเป็นเรื่องยากสำหรับโลกปัจจุบัน ที่จะจัดการระบบลอจิสติกส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพเต็มที่ ความซับซ้อนที่เพิ่มขึ้นนั้นเกิดจากการต้องทำงานภายในช่วงเวลาที่จำกัด เนื่องจากอีคอมเมิร์ซร่นเวลาให้กระชั้นเข้ามา จากเดิมที่ช่องทางการขนส่งสินค้าที่เร็วที่สุดต้องใช้เวลาเป็นวันหรือสัปดาห์ ความเร็วระดับนี้จะไม่เพียงพออีกต่อไป เพราะในตอนนี้ คุณสามารถเปิดเครื่องพีซีของคุณขึ้นมา แล้วเข้าไปยังเว็บไซต์ เพื่อสั่งซื้อหนังสือหรือเสื้อสักตัวหนึ่ง และหวังว่าสินค้าที่สั่งซื้อไปจะส่งมาถึงมือในวันพรุ่งนี้ ในขณะเดียวกันเจ้าของธุรกิจของเว็บที่คุณไปซื้อของนั้น ก็ต้องการรู้ข้อมูลที่แม่นยำว่าสิ่งที่ลูกค้าของเขาได้รับไปจริงๆ คืออะไรด้วยก้าวสู่อี-ลอจิสติกส์ในโลกของ B2B เป็นเรื่องน่าประหลาดใจที่ประสบการณ์จากความคาด-หวังของลูกค้านำความเจ็บปวดมาสู่ธุรกิจหลายหนทางด้วยกัน เส้นทางสายนี้จึงเต็มไปด้วยความเสี่ยงมากมาย ในกรณีของทูลลอจิสติกส์ใหม่ๆ ก็หนีไม่พ้นความเป็นจริงข้อนี้เช่นกัน แม้ว่าทูลเหล่านี้จะเต็มไปด้วยขีดความสามารถที่แฝงอยู่จำนวนมาก แต่หากองค์กรธุรกิจอิมพลีเมนต์ทูลเหล่านี้โดยขาดการไตร่ตรองอย่างรอบคอบ ผลที่เกิดขึ้นจะสามารถทำลายความสัมพันธ์ของบริษัทกับลูกค้าของเขา และก่อให้เกิดความยุ่งยาก ความสับสน และภาวะขาดการควบคุม ได้อย่างมหาศาลทีเดียวปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้เกิดทูลอันทันสมัยที่สามารถช่วยดึงศักยภาพที่ซ่อนเร้นอยู่ของระบบลอจิสติกส์ออกมาได้มากมาย อย่างไรก็ตาม มีแนวคิดพื้นฐานบางอย่างที่มืออาชีพจำเป็นต้องทำความเข้าใจ เมื่อพวกเขาก้าวเข้ามาสู่โลกของลอจิสติกส์ซัพพลายเชนสมัยใหม่ เพราะผู้ที่มีความเข้าใจคำศัพท์และเทคโนโลยีพื้นฐานที่อยู่เบื้องหลังธุรกิจ จะสามารถดึงประโยชน์จากศักยภาพทางเทคโนโลยีที่ล้ำหน้ามาใช้งานได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยมากกว่าผู้ที่ไม่มีความเข้าใจในเรื่องเหล่านี้ดีพอ ซึ่งเมื่อนำไปใช้งานจริง จะมีแนวโน้มสร้างอุปสรรคในความพยายามจัดการซัพพลายเชนและการติดต่อกับผู้เกี่ยวข้องคนอื่นๆประเด็นที่มีความสำคัญที่สุดประเด็นหนึ่งที่ผู้จัดการลอจิสติกส์จำเป็นต้องเข้าไปยุ่งเกี่ยวด้วย ได้แก่ การตัดสินใจเลือกระหว่างซอฟต์แวร์ที่ดีที่สุดแห่งยุคกับซอฟต์แวร์ที่รองรับการอินทิเกรตกันเต็มตัว โดยซอฟต์แวร์ที่ได้ชื่อว่าเป็นซอฟต์แวร์ที่ดีที่สุดแห่งยุค มักจะเป็นซอฟต์แวร์ที่มีคุณสมบัติโดดเด่นเป็นพิเศษในด้านใดด้านหนึ่ง และสามารถทำงานตามลำพังได้ โดยจะมีขีดความสามารถที่แตกต่างกันจำนวนมาก และผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดแห่งยุคส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะเน้นประสิทธิภาพเฉพาะตัวมากกว่าที่จะให้ขีดความสามารถในการเชื่อมต่อกับแพ็กเกจซอฟต์แวร์อื่นๆทางเลือก...ซอฟต์แวร์ที่สามารถอินทิเกรตกับทุกสิ่งทุกอย่างได้ก้าวเข้ามา ทำให้องค์ประกอบที่แตกต่างกันมากมายเหลือคณานับในส่วนต่างๆ ของระบบลอจิสติกส์สามารถทำงานร่วมกันได้ ดังนั้นผู้เชี่ยวชาญจำนวนมากจึงให้คำแนะนำว่าเป็นการดีที่สุดที่องค์กรธุรกิจจะเริ่มต้นจากระบบอินทิเกรต แทนที่จะลงทุนซื้อแพ็กเกจซอฟต์แวร์ที่ดีที่สุดแต่ละด้านแยกกันเมื่อตัดสินใจได้ว่าจะใช้ซอฟต์แวร์ประเภทไหนแล้ว อันดับถัดไป องค์กรธุรกิจจะต้องตัดสินใจเลือกว่าพวกเขาต้องการจะเช่าซื้อหรือเป็นเจ้าของซอฟต์แวร์ที่พวกเขาซื้อเต็มตัว โดยบริษัทที่ต้องการหลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่ในการซื้อซอฟต์แวร์มาครอบครอง มีทางเลือกที่จะหันไปใช้บริการของ Application Service Providers (ASPs) ซึ่งเป็นผู้ดำเนิน ธุรกิจเช่าซื้อซอฟต์แวร์ให้แก่บริษัทต่างๆ และสำหรับ ASP ส่วนใหญ่ในวงการธุรกิจลอจิสติกส์แล้ว มักจะไม่ได้ให้ซอฟต์แวร์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังให้ขีดความสามารถในการเชื่อมต่อแก่ผู้ใช้บริการด้วย โดย ASP เหล่านี้จะใช้เทคโนโลยี อินเทอร์เน็ตและเว็บมาทำหน้าที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ฮับให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับทรานส์แอ็กชันในการขนส่งสามารถลำเลียงข้อมูลที่จำเป็นได้วางรากฐานทางเทคโนโลยีเมื่อองค์กรธุรกิจที่ต้องการวางรากฐานของระบบอี-ลอจิสติกส์วางนโยบายพื้นฐานทั้งหมดแล้ว ก็ถึงเวลาที่จะต้องเลือกซื้อองค์ประกอบของเทคโนโลยีที่จำเป็น ซึ่งองค์กรธุรกิจแต่ละแห่งอาจจะไม่จำเป็นต้องมีระบบเหล่านี้ทั้งหมด ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมตามลักษณะของธุรกิจและสภาพความพร้อมของทรัพยากรที่มี โดยเทคโนโลยีหลักๆ ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบอีลอจิสติกส์ ประกอบด้วยlEnterprise Resource Planning (ERP) ระบบ ERP นั้นเกี่ยวข้องกับฟังก์ชันการทำงานทั้งหมดภายในบริษัท โดยระบบ ERP จะจับตาดูทุกสิ่งทุกอย่างตั้งแต่คลังสินค้าไปจนถึงตารางการทำงานของพนักงาน และการวางแผนกิจกรรมการทำงาน ระบบ ERP ของคุณจึงมีข้อมูลความเคลื่อนไหวทั้งหมดภายในองค์กรของคุณ เก็บร่องรอยของสถานภาพที่คลังสินค้าของคุณเป็นอยู่ ตั้งแต่ยังเป็นวัตถุดิบไปจนถึงสินค้าสำเร็จออกมาlWarehouse Management Systems (WMS) ในปัจจุบัน สินค้าจำนวนมากเดินทางผ่านเข้า-ออกแวร์เฮ้าส์อย่างรวดเร็ว จนคนธรรมดาไม่สามารถที่จะมีขีดความสามารถในการติดตามได้ทันว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง ด้วยเหตุนี้ เทคโนโลยี WMS จึงก้าวเข้ามามีบทบาทในการจัดการแวร์เฮ้าส์อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งพัฒนาการทางเทคโนโลยี ทำให้เทคโนโลยี WMS สมัยใหม่ทำได้มากกว่าการเก็บร่องรอยของผลิตภัณฑ์เท่านั้น แต่ยังติดต่อสื่อสารกับส่วนอื่นๆ ของสายโซ่การขนส่งได้ด้วย ช่วยให้มั่นใจได้ว่าทรัพยากรการจัดส่งและการขนส่งจะสอดคล้องกันอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถนำระบบเข้ามาเกี่ยวข้องในการฝึกอบรมพนักงานได้ด้วยlTransportation Management Systems (TMS) เมื่อถึงเวลาที่ต้องเคลื่อนย้ายสินค้า ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจะแปรผันไปตามปัจจัยที่แตกต่างกันมากมายเหลือคณานับ ภายในกรอบของจำนวนสินค้าที่จะถูกส่งผ่านไปตามกำหนดเวลาที่การจัดส่งจะเกิดขึ้น ถ้าขาดการวางแผนมาดีพอ บริษัทส่วนมากก็มักจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการส่งสินค้าแค่ครึ่งคันรถในราคาเดียวกับการบรรทุกสินค้าเต็มคันรถ ผลิตภัณฑ์ TMS จึงมีบทบาทในการช่วยผู้จัดส่งประสานข้อมูลการเคลื่อนย้ายสินค้า ดังนั้นพวกเขาจะสามารถใช้การขนส่งและทรัพยากรขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพดีที่สุดlAdvanced Planning Solutions (APS) Advanced Planning Solutions เป็นระบบที่ช่วยให้ผู้ใช้งานเตรียมการสำหรับอนาคต ด้วยการฉายภาพความต้องการออกมา และจากนั้นจะประเมินทรัพยากรที่จำเป็นในการทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการ โดยการวางแผนที่ดีมีส่วนสำคัญต่อการลดระดับสต็อกสินค้าและเพิ่มผลิตภาพทางลอจิสติกส์ ซึ่งเนื่องจากการวางแผนจะเกี่ยวข้องกับงานที่แตกต่างกันจำนวนมาก ผลิตภัณฑ์ APS จึงมักจะมีโมดูลที่แตกต่างกันจำนวนมาก แต่โมดูลที่ถือว่ามีความสำคัญที่สุดในจำนวนโมดูลทั้งหมดของเทคโนโลยี APS ก็คือการควบคุมจัดการการจัดตารางเวลาlSupply Chain Process Management Systems การเปลี่ยนซัพพลายเชนเมเนจเมนต์ จากคำฮิตติดปากให้กลายเป็นทูลติดตลาด จะต้องใช้ทั้งการเตรียมพร้อมและแรงงานอย่างมาก กระบวนการเกิดขึ้นเนื่องจากผู้ใช้งานต้องการทูลเพื่อจัดการทูล นั่นก็คือ ซัพพลายเชนเมเนจเมนต์จะทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมระหว่างการวางแผนและการทำงาน นอกจากจะรองรับในส่วนของการวางแผนระยะยาวแล้ว ขั้นตอนต่างๆของซัพพลายเชนเมเนจเมนต์ยังช่วยให้ผู้ใช้งานรับรู้แนวโน้มของปัญหาและรับมือกับปัญหาคอขวดที่เป็นไปได้ ตัวอย่างเช่น คุณสามารถได้รับการแจ้งเตือนว่าระบบพยากรณ์ว่าคุณต้องผลิตสินค้า 10,000 หน่วยในเดือนนี้ ถ้าเหลือเวลาอีกหนึ่ง สัปดาห์ และคุณเพิ่งผลิตได้เพียง 7,000 หน่วย ระบบจะแจ้งเตือนให้คุณเตรียมการสำหรับการผลิตเพิ่มlCustomer Relationship Management (CRM) ไม่มีสิ่งใดจะสำคัญสำหรับธุรกิจมากไปกว่าการทำให้ลูกค้าพอใจ ระบบ CRM สามารถทำให้บริษัทต่างๆ รักษาความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้าไว้ได้ ด้วยการนำข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับลูกค้ามาเก็บไว้เป็นฐานข้อมูลในจุดเดียวกัน จากนั้นก็ให้ทีมงานฝ่ายต่างๆ เข้าถึงข้อมูลเหล่านั้นได้ง่ายขึ้น ระบบ CRM ที่ดีจะให้ทีมงานขายรู้ได้เมื่อลูกค้ามีปัญหากับการสั่งซื้อ พวกเขาจะสามารถตรวจสอบประสิทธิภาพของบริษัทกับการติดต่อกับลูกค้า และแม้แต่เฝ้าดูพฤติกรรมการซื้อของลูกค้า ระบบ ยังสามารถแจ้งเตือนให้บริษัททราบถึงความต้องการของลูกค้าที่เพิ่มขึ้น หรือลดลงได้

เทคโนโลยีสารสนเทศเบื้องต้น

นางสาวชุลีพร ยุพาพิน คธ.1.2 เลขที่ 9